วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 1 กลุ่มเรียน 103
เวลา 11.30 - 14.00 น.
ความรู้ที่ได้รับ
-ได้รับความรู้เดี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กสมาธิสั้นในเรื่องต่างๆ เช่น การดูแลรักษา หน้าที่ของครู กิจกรรมบำบัดเด็กสามธิสั้น หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สามารถสรุปองค์ความรู้เป็น Mind Map ได้ดังนี้
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น
จะได้รู้ได้อย่างไรว่าลูกสมาธิสั้น?
เด็กสมาธิสั้น สั้นแค่ไหนถึงเป็นโรค หรือความผิดปกติ ที่จะต้องพาไปหาหมอ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นสมาธิสั้น เป็นคำถามที่พ่อแม่หลายท่านสงสัยกัน การที่จะบอกว่าเด็กเป็นสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากอาการของสมาธิสั้นคล้ายๆ กับอาการของปัญหาอื่นๆ อีกหลายอย่าง ก่อนอื่นควรมาทำความรู้จักกับ “สมาธิสั้น” กันก่อนนะครับ
บางคนอาจเรียกว่าเด็กสมาธิสั้น บางคนอาจเรียกว่าเด็กไฮเปอร์ ก็คืออย่างเดียวกันนะครับ อย่าไปสับสน มาจากชื่อภาษาอังกฤษคำเต็มว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือที่เรียกย่อว่า ADHD เป็นลักษณะที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก ประกอบ ด้วยปัญหาหลักใน 3 ด้านคือ
1) สมาธิสั้น
2) ซนอยู่ไม่นิ่ง
3) หุนหันพลันแล่น
เด็กมักจะทำอะไรได้ไม่นาน จะวอกแวก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย ในเด็กเล็กจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นเด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
เด็กมักซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก เหลียวซ้ายแลขวา ยุกยิก แกะโน่นเกานี่ อยู่ไม่สุข ปีนป่าย นั่งไม่ติดที่ ชอบคุย ส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
การประเมิน
ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน จดเนื้อหาที่อาจารย์อธิบายได้อย่างครบถ้วน
-แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน
-เพื่อนบางส่วนแอบหลับในห้องเรียน และเล่นโทรศัพท์
-ร่วมสนทนาถามตอบกับอาจารย์ได้อย่างสนใจ
ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีเนื้อหาที่สอนได้อย่างเข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน
-อาจารย์ตั้งใจอธิบายเนื้อหาให้นักศึกษาได้อย่างตั้งใจ ถึงแม้อาจารย์จะไม่ค่อยสบาย
นางสาวหทัยทิพย์ อธิษฐานรัตน์